LA FERRARI ม้าลำพองผยองเดช
950 แรงม้า 0-100 ใน 3.0 วินาที ความเร็วสูงสุด 347 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างเพียงแค่ 499 คัน แต่ขายหมดตั้งแต่เปิดจองบนราคาค่าตัว 1 ล้านปอนด์ คุณต้องมี Ferrari ในครอบครองสี่คันขึ้นไปถึงจะมีสิทธิสั่งจอง นี่คือ La Ferrari ม้าลำพองผยองเดชตัวตายตัวแทน F50 / F60 ด้วยรหัส F150…
หลัง จาก Ferrari ENZO ซุปเปอร์สปอร์ตคาร์เครื่องวางกลางแห่งตำนานได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับวง การซุปเปอร์คาร์ในปี 2002 12 ปีต่อมากับการสานต่อประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของค่ายม้าลำพอง ก่อกำเนิดสายพันธุ์ของสุดยอดรถสปอร์ตจากอิตาลีที่เหนี่ยวนำระบบอากาศ พลศาสตร์มาผสมกับสมรรถนะของเครื่องยนต์และระบบขับเคลื่อนแบบใหม่ นี่คือ Ferrari ที่มีอักษร La นำหน้า นับเป็นครั้งแรกของการสร้างรถซุปเปอร์คาร์ที่มีการนำเอาเทคโนโลยีของรถแข่ง F1 มาผสมผสานกับระบบขับเคลื่อนแบบมอเตอร์ไฟฟ้าเสริมแรง บนเรือนร่างที่ถ่ายทอดทั้งอารมณ์สปอร์ตและความงดงามพลิ้วไหวของงานดีไซน์ที่ ก้าวไกล มันจะเป็นตัวแทนที่อยู่บนแถวหน้าสุดของ Ferrari และเป็นรถยนต์ที่แม้จะยังสร้างไม่เสร็จแต่ถูกขายไปหมดเรียบร้อยแล้ว!! มูลค่า 1 ล้านปอนด์ของมันคือเงินที่คนจำนวน 499 คนยอมจ่ายทั้งๆ ที่ต้องรอกันอีกยาวเกือบสองปี
ตัวถังที่ทำจากคาร์บอนมีชุดแอร์โรไดนามิกส์ที่ปรับได้ด้วยตัวเองแบบ อัตโนมัติ เมื่อวิ่งทางตรง ปีกหลังและช่องต่างๆ บนตัวถังจะสร้างแรงกดในระดับที่มีความสมดุลไปตามความเร็วที่แท้จริง ที่ความเร็วสูงสุด มันอาจสร้างแรงกดได้ถึง 600 กิโลกรัม อากาศพลศาสตร์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญในรถซุปเปอร์คาร์เมื่อต้องทำความเร็ว โครงแชสซีที่ทั้งเบาและแข็งแกร่งทำจากคาร์บอนคล้ายกับรถรุ่น F50 แต่นำเทคโนโลยีของรถแข่ง F1 ในปัจจุบันมาปรับใช้ทั้งหมด กรรมวิธี Autoclave มีห้องอบแรงดันสูงเพื่อขึ้นรูปแผ่นคาร์บอนให้กลายมาเป็นอ่างและโครงสร้างของ ห้องโดยสารแบบสองที่นั่ง แชสซีของ La Ferrari ทนทานต่อแรงบิดตัวได้มากถึง 22% เมื่อเทียบกับบรรพบุรุษของมันในรุ่นที่ผ่านมาอย่าง Ferrari ENZO ตัวถังคาร์บอนแบบใหม่ล่าสุดลดน้ำหนักลงไปอีก 30 กิโลกรัม น้ำหนักของตัวรถประมาณ 1,250 กิโลกรัม ถือว่าไม่มากนักสำหรับซุปเปอร์คาร์ระดับ 789 แรงม้าคันนี้
สัดส่วนของตัวถัง La Ferrari เป็นงานศิลปะชิ้นเอกในวงการซุปเปอร์คาร์ ถือเป็นรถ Ferrari ที่สวยที่สุดเท่าที่เคยถือกำเนิดขึ้นในโรงงานที่มาราเนลโล มันมีสัดส่วนของความแบน กว้างและเตี้ยรวมถึงด้านข้างที่ดูดีมาก แนวคิดของการออกแบบเกิดขึ้นจากการขัดเกลาในอุโมงค์ลมทดสอบในขั้นตอนของการ พัฒนาตัวรถ ความยากอยู่ตรงที่ระบบแอร์โรไดนามิกส์ต้องดีและมีความสวยงามโดนใจลูกค้า (ที่สั่งจอง) ทุกๆ ส่วนของรถตั้งแต่หน้าไปจนจดบั้นท้ายที่นอกจากจะแสดงออกถึงความสามารถในการ ออกแบบและความงดงามแล้ว ยังมีค่าทางหลักอากาศพลศาสตร์ที่ถูกต้องอีกด้วย จมูกของรถที่แหลมและมีลิ้นกดอากาศทำจากคาร์บอนคอมโพสิตเพื่อช่วยสร้างแรงกด เมื่อเครื่องยนต์ถูกวางอยู่กลางลำตัว ช่องรับอากาศเข้าห้องเครื่องยนต์ที่แนวข้างมีขนาดใหญ่และมีดีไซน์ที่กลมกลืน ไปกับโป่งของซุ้มล้อหลัง เสาหน้าลาดเอียงคล้ายกับยานอวกาศค่อยๆ ไล่ลดองศาไปจนถึงส่วนท้ายอย่างลงตัว คุณต้องเห็นตัวจริงด้วยสายตาของคุณเองจึงจะรู้ว่า LA Ferrari เป็นรถที่สวยงามขนาดไหน
ระบบกันสะเทือนที่ต้องรับหน้าที่หนักวางปีกนกอัลลอยและคอยสปริง เหล็กกันโคลงกับจุดยึดที่ผ่านการคำนวณค่าทางเรขาคณิตมาเป็นอย่างดี ด้านหน้าที่ต่ำมากจากลิ้นหน้าที่ช่วยเสริมแรงกดทำให้วิศวกรของ Ferrari ต้องออกแบบให้ด้านหน้าของ La Ferrari สามารถยกตัวขึ้นได้เมื่อวิ่งผ่านผิวทางที่ไม่เรียบ ระบบ Active Suspension ใช้โช้คอัพแม่เหล็กไฟฟ้า Magne Ride ควบคุมการทำงานปรับความหนืดด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะไปเหนี่ยวนำของเหลวหรือ น้ำมันในกระบอกโช้คให้ปรับค่าแปรผันไปตามสภาพของถนนแบบอัตโนมัติ โช้คอัพปรับปรุงจากโช้คของรถรุ่น 458 ระบบนี้สามารถควบคุมการเต้นขึ้นลงของโช้คอัพได้ดีขึ้น ส่วนระบบเบรกใช้จานเบรกแบบคาร์บอนเซรามิก 6 พอตที่ด้านหน้าและด้านหลัง คาร์ลิปเปอร์เบรก ผลิตโดยบริษัท Brembo แต่แปะตรา Ferrai และพ่นด้วยสีแดงตามสไตล์ของม้าลำพอง ระบบสำรองพลังงานจากการเบรก หรือ Brake Energy Re-Generation จะทำการชาร์จประจุกระแสไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่ เพื่อนำมาปั่นชุดมอเตอร์เสริมแรง รวมถึงแรงบิดส่วนเกินที่เกิดจากเครื่องยนต์ก็จะถูกนำไปปั่นกระแสไฟฟ้าใส่แบ ตฯ ด้วยเช่นกัน
ตำแหน่งนั่งขับของคนที่เสียเงินไปถึงล้านปอนด์ต้องดูดีและรองรับสรีระได้ อย่างใจ เบาะเคฟล่าร์ถูกหล่อเป็นชิ้นเดียวกันกับอ่างของห้องโดยสารแบบรถ F1 เจ้าของรถจะถูกวัดตัวหลังจากจ่ายเงินเพื่อนำสัดส่วนของร่างกายไปหล่อตัวเบาะ เบาะหุ้มด้วยหนังเนื้อนุ่มสีแดงมีเส้นสีเทาเดินคาดเพื่อมอบบรรยากาศแบบ สปอร์ตสุดขั้ว สำหรับการปรับตั้งระยะความสูงและความห่างของพวงมาลัยกับแป้นคันเร่งกับเบรก จะช่วยให้ผู้ที่มีร่างกายสัดส่วนใกล้เคียงกับเจ้าของสามารถขับขี่ได้ แต่ถ้าต่างกันมากก็ลืมไปได้เลย ห้องโดยสารสองที่นั่งของ La Ferrari ค่อนข้างคับแคบจากรูปแบบของหลังคาและเสาหน้าที่ลาดเอน คอนโซลคาร์บอนหุ้มด้วยหนังกลับ ช่องแอร์ทรงกลมกับหน้าปัดแบบ TFT ปรับเปลี่ยนหน้าจอแสดงผลได้หลากหลาย โดยเฉพาะวัดรอบที่มีให้ถึงหมื่นรอบต่อนาที พวงมาลัยแบบฐานตัดบนล่างทำจากคาร์บอนหุ้มหนังกลับกันลื่น ก้านทั้งสามล้อมรอบสวิตช์ปรับแต่งโหมดการขับ สวิตช์สตาร์ตเครื่องยนต์ ปุ่ม Manettino เลือกโหมดรูปแบบของการขับ 5 ระดับ มีตั้งแต่วิ่งเรื่อยๆ ด้วยความเร็วต่ำในเมืองไปจนถึงซิ่งสุดกำลังในสนามแข่ง สวิตช์ควบคุมออกแบบโดยสองนักขับจาก Scuderia Ferrari นั่นก็คือ Fernando Alonso และ Felipe Massa เพื่อให้มันส่งถ่ายบรรยากาศรถ F1 ให้ได้มากที่สุด คอนโซลกลางมีปุ่ม Launch Control ปุ่มเกียร์ถอย และปุ่มโหมด Auto สองนักซิ่งของม้าลำพองพยายามทำให้ปุ่มสั่งงานทั้งหมดอยู่ในตำแหน่งที่ง่าย ต่อการใช้งาน ทั้งที่ย่านความเร็วต่ำและขณะที่ควบด้วยความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับแป้นเปลี่ยนเกียร์หลังพวงมาลัย หรือ Paddle Shift ใช้ก้านคาร์บอนทรงพระจันทร์เสี้ยวอยู่ในจุดที่เพียงกระดิกนิ้ว เกียร์ก็จะเปลี่ยนตำแหน่งทันทีเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานอย่างที่สุด ก้าน Paddle หลังวงพวงมาลัยของ La Ferrari จึงมีขนาดที่ยาวเป็นพิเศษ
เครื่องยนต์ V12 6,262 ซีซี พ่วงอุปกรณ์สำรองพลังงาน HY KERS กำลังที่ได้จากเครื่องยนต์ประมาณ 790 แรงม้า บวกกับการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าเสริมแรงม้าจะทะลุไปถึง 950 แรงม้า แรงบิดสูงสุดของเครื่องยนต์ตัวนี้ทะลุไปถึง 516 ปอนด์-ฟุตที่ 9,550 รอบต่อนาที ส่งกำลังไปล้อหลังด้วยเกียร์ F1 7 SPEED Dual Clutch เร่งจาก 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงใน 3.0 วินาที ความเร็วสูงสุด 347.9 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การมีมอเตอร์ไฟฟ้ามาพ่วงในระบบขับเคลื่อนทำให้สามารถปรับเครื่องยนต์โดยเน้น ไปที่การให้กำลังในรอบที่ใกล้เคียงกับจุดสูงสุดได้ ระบบเสริมแรงและสำรองพลังงาน HY-KERS ทำให้การออกตัวจากจุดหยุดนิ่งดีขึ้นมาก มอเตอร์ที่ติดตั้งอยู่กับเฟืองท้ายแทนที่จะอยู่ในเครื่องยนต์หรือเกียร์ทำ ให้การสูญเสียแรงลดน้อยลง สำหรับจำนวนการผลิต La Ferrari นั้น พวกมันจะถูกสร้างขึ้นเพียงแค่ 499 คันในโรงงานแห่งเดียวของ Ferrari ที่มาราเนลโล ไม่ต้องแปลกใจที่รถทั้ง 499 คันนั้นมีเจ้าของหมดแล้ว โดยเจ้าของส่วนใหญ่จะอยู่ในยุโรป สหรัฐอเมริกา ตะวันออกกลาง จีนและสิงคโปร์.
Credit : http://fanthai.com/
รถสุดเจ๋งทีมที่เข้ารอบบอลโลก 2018 http://www.cool70.com/new/2018/05/02/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5-100-%E0%B8%81/
ตอบลบ